สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

เพื่อให้สอดคล้องกับการได้ยินของหูมนุษย์ เราจึงประดิษฐ์เครื่องวัดเสียงที่มีการปรับแก้ ลดความสำคัญของเสียงที่ความถี่ต่ำลง โดยได้กำหนดตัวปรับแก้ที่เรียกว่า A-Weighting ในแต่ละความถี่ขึ้น 


หลักการคือ เมื่อนำเอาตัวปรับแก้ไปรวมกับค่าระดับเสียงที่วัดได้ เราจะได้ค่าระดับเสียงแยกตามความถี่ซึ่งลดความสำคัญของเสียงความถี่ต่ำลงไป เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการได้ยินเสียงของหูมนุษย์ 


โดยค่าระดับเสียงที่ทำการปรับแก้แล้ว จะไม่ได้มีหน่วยว่า เดซิเบล (dB) แต่จะถูกเรียกว่า เดซิเบลเอ (dBA)


จากตารางจะเห็นว่า แถวที่ 1 คือ ค่าระดับเสียงที่ไม่มีการปรับแก้อะไรทั้งสิ้น เราจะเรียกว่า ค่าระดับความดังเสียง แบบ Linear   ส่วนแถวที่ 2 คือค่า A-weighting  ที่จะเอาไปรวมกับค่าระดับเสียงแถวที่ 1 เพื่อปรับแก้ความดังในแต่ละช่วงความถี่ ให้สอดคล้องกับหูมนุษย์ 


ซึ่งความดังที่ปรับแก้แล้ว จะมีหน่วยว่า เดซิเบลเอ (dBA) 






เนื่องจากหูมนุษย์ มีความสามารถในการตอบสนองความถี่ของเสียงแต่ละความถี่แตกต่างกัน โดยหูมนุษย์จะไม่ค่อยตอบสนองความถี่ต่ำ แต่จะตอบสนองได้ดีที่ความถี่กลางและสูง ดังนั้นถึงเราจะได้ยินเสียงความถี่ต่ำที่ระดับความดังพอๆ กับความถี่สูง 


ยกตัวอย่างเช่น เปิดเสียงที่ความถี่ 250 Hz ที่ความดัง 90 เดซิเบล  เปรียบเทียบกับเสียงที่ความถี่ 1000 Hz ที่ความดัง 90 เดซิเบล เราจะบอกว่า เสียงที่ความถี่ 1000 Hz ดังมากกว่าทั้งๆ ที่เสียงทั้งสองดังเท่ากัน 



กราฟ Equal Loudness contour ถูกนำเสนอโดย Flectcher-Munson ซึ่งเป็นการทดลองจากการเก็บข้อมูลความรู้สึกของการรับรู้เสียงดังของคนจริงๆ ในแต่ละช่วงความถี่ โดยเก็บข้อมูลจำนวนมาก ก่อนที่จะสรุปและเผยแพร่ Equal Loudness contour ออกมา เราจะเห็นได้ว่า ในแต่ละเส้นจะแสดงความรู้สึกของหูหนุษย์ที่รับรู้ความดังใกล้เคียงกัน ที่แต่ละความถี่


จากกราฟจะสังเกตได้ว่า เส้นหมายเลข 10 Phons ไปจนถึง 80 Phons หากต้องการให้เสียงความถี่ต่ำดังพอๆ กับความถี่สูง จะต้องเพิ่มดังเสียงความถี่ต่ำมากขึ้น จะทำให้รู้สึกว่าดังใกล้เคียงกัน 


ในทางกลับกัน ที่ 90-120 Phons ไม่ต้องเพิ่มระดับความดังของเสียงความถี่ต่ำเยอะมาก หูมนุษย์ก็จะรับรู้ความดังของเสียงความถี่ต่ำ ใกล้เคียงกับความถี่สูง 


พูดง่ายๆคือ หูมนุษย์จะตอบสนองต่อความดังแต่ละช่วงความถี่ใกล้เคียงกัน เมื่อเสียงดังมากๆ 


ดังนั้นเมื่อความดังของเสียงที่มนุษย์สัมผัสมีความดังมากๆ หูมนุษย์จะต้องสนองความถี่แบบ C-Weighting ด้วยเหตุนี้เอง ตามกฎหมายเสียง จึงกำหนดให้ LPeak จะต้องไม่เกิน 140 เดซิเบลซี แทนที่จะเป็นเดซิเบลเอ 


เพราะถ้ายังกำหนดเป็น เดซิเบลเอ จะทำให้ผู้ปฎิบัตงานได้รับระดับเสียงสูงมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังแสดงในตารางเปรียบเทียบด้านล่าง 




Source: hyperPhysics concept 

แล้ว C-Weighting มีไว้ทำอะไร ? 


สิ่งที่น่าประหลาดใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมของหูมนุษย์ คือ ในเสียงระดับทั่วไปในชีวิตประจำวัน หูคนจะตอบสนองความดังในแต่ละความถี่ แบบ A-Weighting แต่พอเสียงมีความดังเพิ่มสูงขึ้นมากๆ กลายเป็นว่า หูคนจะต้องสอบความถี่ต่ำและความถี่สูงพอๆ กัน ดังแสดงในรูป Equal Loudness Contour 






ในปัจจุบันงานตรวจวัดเสียงในสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งหมด เราจึงนิยมพูดกันในหน่วย เดซิเบลเอ เกือบทั้งหมด เพราะเราสนใจผลกระทบของคนที่ได้รับเสียงรบกวนครับ 






ทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าความถ่วงน้ำหนักความถี่แบบ A และ C

(A weighting และ C weighting)