สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

เขียนโดย 


ภูมิใจ ประเสริฐกุลวงศ์ 

M.Eng Civil Enineer, Chulalongkorn University 

Msc. Sound and Vibration Studies, University of Southampton 


Mobile: 062-195-1909 

Line id: satan_boat 

E-mail: getbestsoundthailand@gmail.com

วิธีที่ 1  ทำห้องครอบเครื่องจักร หรือกิจกรรมที่มีเสียงดัง โดยวิธีนี้ จะค่อนข้างได้ผลดี เพราะเป็นการป้องกันเสียงดังจากแหล่งกำเนิดโดยตรง โดยทั่วไปวิธีนี้ สามารถลดความดังก่อนและหลังทำได้มากถึง 20-30 เดซิเบล เลยทีเดียว หากสามารถทำห้องครอบเครื่องจักรหรือกิจกรรมที่เกิดเสียงดัง ด้วยผนัง 4 ด้าน และฝ้าเพดาน


อย่างไรก็ตามวิธีนี้มีข้อเสียคือ อาจจะต้องคำนึงถึงระบบการระบายอากาศ การระบายความร้อนจากเครื่องจักรหรือกิจกรรมการทำงานที่อยู่ภายในห้อง 


การทำรูปแบบผนังและฝ้าเพดานของห้องกันเสียงด้วยฉนวนกันเสียง ISO NOISE ทำได้โดยการติดตั้งระบบผนังเบาดังแสดงในรูป 


วิธีนี้จะได้ผลน้อยกว่าวิธีแรก คือการทำห้องกันเสียงครอบ  จากผลงานการออกแบบติดตั้งที่ผ่านมา การทำผนังกันเสียงในตัวโรงงาน จะช่วยลดเสียงดังได้ตั้งแต่ช่วงระดับ 10-20 เดซิเบล 

3 วิธีพื้นฐานสำหรับการแก้ไขปัญหาเสียงดังจากภายในโรงงานไปรบกวนเพื่อนบ้าน หรือพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยฉนวนกันเสียง ISO NOISE 

​​วิธีที่ 2  ติดตั้งผนังเบากันเสียงเข้ากับตัวผนังโรงงาน เพื่อป้องกันเสียงทะลุจากตัวโรงงานไปยังพื้นที่หรือบ้านผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากเสียงรบกวนโดยตรง 


เนื่องจากโดยทั่วไป ผนังของตัวโรงงานทั่วไปจะติดก่อสร้างด้วยแผ่นเมทัลชีท ที่มีความบางแค่เพียง 0.4 มิลลิเมตร และมีบานเกล็ดระบายอากาศ  ซึ่งรูปแบบผนังแบบนี้ ทำให้เสียงดังจากการทำงานในโรงงานทะลุผนังไปยังพื้นที่ข้างเคียงอย่างง่ายดาย 

รูปตัวอย่างการติดตั้งห้องเก็บเสียงภายในตัวโรงงาน 

รูปแบบของกำแพงกันเสียง จะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงเพียงพอ เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงไม่ทะลุผ่านตัวกำแพงตรงๆ ไปมากกว่าเสียงที่เลี้ยวอ้อมผ่านกำแพงไป โดยรูปแบบผนังที่แนะนำดังแสดง 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับห้องเก็บเสียงเครื่องจักรได้ที่ http://www.iso-noise.com/machine-enclosure.html

รูปตัวอย่างการติดตั้งผนังกันเสียงในตัวโรงงาน 

ดังนั้นเพื่อจะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงของระบบผนังเดิมของโรงงานด้วยระบบผนังกันเสียง สามารถทำได้โดยการปิดช่องบานเกร็ดด้วยแผ่นเมทัลชีท จากนั้นกรุภายในด้วยฉนวนกันเสียง ISO NOISE ด้วยโครงผนังเบา และปิดด้วยแผ่นสมาร์ทบอร์ด 10 มม 2 ชั้น


โดยการติดตั้งอาจจะต้องติดตั้งฝ้าเพดานด้วยหากบ้านข้างเคียงมีความสูงมากกว่า 2 ชั้น เพื่อป้องกันเสียงเสียงที่ทะลุจากหลังคาโรงงานอ้อมเข้าไปในบ้าน 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกำแพงกันเสียงได้ที่ http://www.iso-noise.com/noisebarrier.html

https://vetralandtimber.london/timber-products/fencing-greenwich/acoustic-panels/

เนื่องจากมีลูกค้าสอบถามกันบ่อยมาก เรื่องของเสียงจากการทำงานภายในโรงงานดังออกไปรบกวนพื้นที่ข้างเคียง และเพื่อนบ้านที่อยู่ติดกัน ส่งผลให้เพื่อนบ้าน ไปร้องเรียนกับหน่วยงานราชการ ซึ่งเป็นปัญหาที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะเราอยู่กันอย่างแออัดมากขึ้น สมัยก่อน โรงงานห่างจากบ้านคนค่อนข้างมาก แต่ปัจจุบัน บ้านคนและโรงงานแทบจะตั้งชิดกันเลย 


เมื่อผู้ประกอบการเจ้าของโรงงาน ต้องการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงรบกวน ทางวิศวกรจึงแนะนำ หลักการพื้นฐาน 3 ข้อ เรียงลำดับจากได้ผลดีที่สุด ไปยังได้ผลน้อยที่สุดครับ 


​​วิธีที่ 3 ติดตั้งกำแพงกันเสียงภายนอกตัวโรงงาน เช่น บริเวณรั้วโรงงาน เพื่อป้องกันเสียงรบกวนจากโรงงานไปยังพื้นที่ข้างเคียง


ซึ่งวิธีการสร้างกำแพงกันเสียงภายนอกโรงงาน จะให้ผลการป้องกันเสียงต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับ 2 วิธี ที่กล่าวมาข้างต้น เพราะผลการการเลี้ยวเบนของเสียงมีผลมากต่อประสิทธิภาพของการป้องกันเสียงของกำแพง ดังนั้น กำแพงที่สร้างจะต้องยาวเพียงพอ สูงเพียงพอ 


เพื่อสร้างอิทธิพลของเงาเสียง ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ผลกระทบจากเสียงรบกวน 


รูปตัวอย่างการติดตั้งผนังกันเสียงภายนอกโรงงาน