สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

เครื่อง XL2 ใช้ตรวจวัดค่าความก้องภายในห้องในช่วงความถี่ 63 ถึง 8 kHz ด้วยวิธี Schroeder method แสดงในรูปแบบ 1/1 ออกเตฟ โดยเครื่องจะทำการคำนวณเพื่อค่าระยะเวลาที่เสียงลงลง เพื่อนำมาคำนวณหาค่าความก้องโดยอัติโนมัติ สามารถวัดจากเสียงระเบิดลูกโป่ง (impulse noise) และเสียงจากสัญญาณ Pink noise 

โดยมีฟังก์ชั่นเสริม (เพิ่มค่าใช้จ่าย) เพื่อให้เครื่อง XL2 วัดค่าความก้องในรูปแบบ 1/3 ออกเฟต 

วิเคราะห์ระยะเวลาที่เสียงเดินทางมาถึงผู้รับ (Delay Time)

วิเคราะห์รูปแบบของกระแสไฟฟ้า (Polarity)

เครื่อง XL2 สามารถวิเคราะห์เสียงแบบแยกความถี่ละเอียดด้วยเทคนิค FFT แบบทันทีทันใด ซึ่งมีประโยชน์มากในการวิเคราะห์ comb filters effect หรือ ระดับความดังเสียงที่ความถี่เฉพาะเจาะจง 

โดยมีฟังก์ชั่นเสริม (เพิ่มค่าใช้จ่าย) ในการเพิ่มความละเอียดของการแสดงผลความถี่ทุกๆ 0.4 Hz ตั้งแต่ช่วงความถี่ 5 - 20k Hz 

เครื่อง XL2 สามารถการวิเคราะห์เสียงเพื่อแยกตามช่วงความถี่ได้ทั้งแบบ 1/1 และ 1/3 ออกเตฟ แบบทันที และยังสามารถบันทึกผลการวัดระดับเสียงแยกตามความถี่ได้ทุกๆวินาที เพื่อใช้ในการนำมาวิเคราะห์ภายหลัง

เครื่อง XL2 ช่วยให้งานด้านออดิโอและอคูสติก ง่ายขึ้นได้อย่างไร 

การวิเคราะห์ความถี่เสียงแบบทันทีทันใด

(Real Time Analyzer, RTA)

วิเคราะห์ค่าความชัดเจนของเสียงพูด (STIPA)

เครื่อง XL2 สามารถตรวจวัดได้ทั้ง Leq, LPeak, Lmax, Lmin, ​

สามารถเลือกค่าถ่วงน้ำหนักความถี่ได้ทั้งแบบ A,C และ Z  รวมทั้งการตรวบสอบทั้งแบบ Fast, Slow, Impulse 

เครื่อง XL2 สามารถทำการวัดค่าความชัดเจนของเสียงพูด (Speech Intelligibility) ตามมาตรฐาน IEC60262-16: 2011 (edition 4) ซึ่งมีการพิจารณาถึงค่าระดับเสียงพื้นฐานภายในพื้นที่ที่ทำการตรวจวัด การตรวจวัดจำเป็นต้องใช้สัญญาณมาตรฐาน ที่สร้างขึ้นจากอุปกรณ์สร้างสัญญาณไม่ว่าจะเป็น Talk Box, MR-PRO หรือแผ่นบันทึกสัญญาณทดสอบที่เปิดกับเครื่องเล่นทั่วไป

เพื่อความสมจริงของระบบเสียงสเตอริโอ (Streo image) จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบว่ารูปแบบของกระแสไฟฟ้าที่ป้อนไปยังลำโพง ทั้งซ้ายและขวา ตรงกันหรือไม่ 

วิเคราะห์ความถี่แบบละเอียดสูง

(FFT Analysis)

ตรวจวัดค่าความก้องภายในห้อง

(Reverberation Time measurement)

ตรวจวัดระดับเสียงได้หลากหลายรูปแบบ

(Flexible solutions to measure sound level)

เสียงเดินทางในอากาศมีความเร็ว 343 เมตร / วินาที 

หากแหล่งกำเนิดเสียงตั้งห่างกันเกิน 20 เมตร หูมนุษย์สามารถแยกแยะว่าเสียงทั้งสองมาจากคนละตำแหน่งกัน ดังนั้น การตรวจวัดเพื่อให้รู้ว่า ระยะเวลาที่เสียงเดินทางมาถึงจากแหล่งกำเนิด หลายแหล่ง แตกต่างกันเท่าไหร่ จะช่วยให้วิศวกร สามารถทำการปรับหน่วงระยะของเสียงจากแหล่งกำเนิด เพื่อให้เสียงจากทุกแหล่งกำเนิดเดินทางมาถึงผู้รับในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ถือเป็นฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์มากที่เครื่อง XL2 สามารถทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ได้