จะเห็นว่าการติดตั้งทั้งสองรูปแบบ ยังคงหลักการ
1. ปริมาณพื้นที่ของฟองน้ำซับเสียงเพียงพอในการควบคุมความก้องภายในห้อง
2. ตำแหน่งติดตั้ง แบบแรก ติดตั้งฟองน้ำซับเสียงในด้านที่ติดกัน เพื่อไม่ให้มีพื้นผิวสะท้อนที่ขนาดกัน จะสร้างเสียงสะท้อนไปมาระหว่างพื้นผิวที่ขนานการ ซึ่งเรียกว่า Flutter Echo และแบบที่สอง เป็นการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงแบบเป็นแถบแต่จะมีการวางให้แผ่นให้เป็นรูปแบบสลับฟันปลา เพื่อป้องกันไม่ให้มีพื้นผิวสะท้อนขนาดกัน
เทคนิคการติดตั้งฟองน้ำซับเสียงภายในห้องซ้อมดนตรี
หลัการทางอคูสติกในการติดตั้งฟองน้ำดูดซับเสียง จะต้องคำนึงดังต่อไปนี้
1. ปริมาณฟองน้ำซับเสียงที่ติดตั้งภายในห้องซ้อม จะต้องเพียงพอสำหรับควบคุมความก้องภายในห้องให้เหมาะสมในการใช้งาน โดยทั่วไปแล้ว ปริมารฟองน้ำที่ติดตั้งจะติดตั้งเป็นปริมาณแนะนำดังต่อไปนี้
- 50% -100 % ของพื้นที่ผนัง โดยจากการคำนวณพบว่า การติดตั้งฟองน้ำซับเสียงที่ผนังเป็นพื้นที่ 50% ก็สามารถควบคุมความก้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว
แต่จากประสบการณ์จากวิศวกรพบว่า เจ้าของห้องหลายท่านชอบเสียงในห้องที่แห้งกว่าที่แนะนำ เพราะเวลาซ้อม ผู้เล่นต้องการออกแรงในการเล่นดนตรีแบบเต็มที่ ซึ่งหากห้องไม่แห้งจะทำให้เสียงดังมากเกินไป
- 100% ของพื้นห้องซ้อมดนตรีควรปูด้วยพรมหนาที่มียางรองใต้พรม เนื่องจาก ประโยชน์ของพรมจะช่วยดูดซับเสียงสะท้อนภายในห้องได้บางส่วนแล้ว พรมยังช่วยป้องกันเสียงกระแทกจากการตีกลาง หรือการกระถืบเท้า กระโดด ขณะเล่นดนตรีได้เป็นอย่างดี จึงแนะนำให้ห้องซ้อมดนตรีควรจะปูพรมหนา เพื่อป้องกันเสียงกระแทกขณะเล่นดนตรี
แต่หากไม่ต้องการปูพรมที่พื้น อาจจะประยุกต์ติดตั้งแผ่นวัสดุดูดซับเสียงบนฝ้า เช่น ตัวแผ่นฟองน้ำซับเสียง TOP TONE หรืออาจจะใช้แผ่นฝ้าอคูสติกดูดซับเสียง M-Board เพื่อควบคุมเสียงสะท้อนภายในห้อง และเสียงสะท้อนไปมาระหว่างพื้น - เพดาน
อย่างไรก็ตาม บริเวณกลอง แนะนำให้ทำการปูพรมหนารองเป็นฐานในการวางกลองภายในห้อง เพื่อป้องกันเสียงกระแทกจากการตีกลอง ซึ่งสร้างเสียงสะเทือนที่ไหลไปตามโครงสร้างไปยังพื้นที่ภายนอกห้องซ้อม เพื่อไม่ให้ไปรบกวนเพื่อนบ้าน หรือคนภายในบ้านด้วยครับ
ทำไมห้องซ้อมดนตรีจึงต้องติดวัสดุดูดซับเสียงเพื่อป้องกันเสียงสะท้อนภายในห้อง ?
มีเหตุผลหลายประการที่ห้องซ้อมดนตรี จำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงภายในห้อง
1. ห้องซ้อมดนตรีที่มีขนาดใหญ่พอประมาณ จะมีเสียงก้องมากจนเกินไป ทำให้ผู้เล่นไม่สามารถได้ยินเสียงที่ตัวเองเล่นได้ชัดเจนมาก
2. ห้องซ้อมดนตรีที่มีขนาดเล็ก แต่เครื่องดนตรีไม่ได้มีขนาดเล็กตามห้อง เช่น กลอง หรือแกรนด์เปียโน ทำให้เมื่อเล่นภายในห้องเสียงจะดังมากจนเกิน หากห้องไม่ได้ติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงภายในห้อง
3. ห้องซ้อมดนตรีในปัจจุบัน ยังถูกประยุกต์เห็นห้องถ่ายทอดการแสดงไปทางอินเตอร์เน็ต จึงมีการตั้งไมโครโฟนเพื่อบันทึกเสียงจากการแสดง หากไม่มีการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียง จะทำให้เสียงที่ถูกบันทึกโดนบิดเบือนจากเสียงสะท้อนภายในห้อง ทำให้คุณภาพเสียงไม่คมชัด ส่งผลต่อการดึงดูดคนดูให้สนใจในคลิปวิดีโอดังกล่าว
โดยหลักการในการติดตั้งแผ่นวัสดุดูดซับเสียง ได้แก่ ฟองน้ำดูดซับเสียง TOP TONE ไว้บนผนังและฝ้าเพดานจะช่วยควบคุมปัญหาเสียงสะท้อนภายในห้องได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างการตำแหน่งการติดตั้งฟองน้ำซับเสียงภายในห้องซ้อมดนตรี
บทความนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ www.getbestsound.com ห้ามไม่ให้นำไปใช้เพื่อการนำเสนอขายสินค้าที่ไม่ใช่ของ Get Best Sound หากพบว่ามีการนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีการดำเนินการทางกฏหมายสูงสุด