สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

การวิเคราะห์ปัญหา  


​เนื่องจากภายในร้านอาหารที่เปิดการใช้งานแล้ว มีการจัดวางโต๊ะเก้าอี้ หรือการตกแต่งภายในร้าน ด้วยสิ่งของจำนวนมาก แน่นอนว่า วัสดุตกแต่งเหล่านี้ เป็นการยากที่จะรู้คุณสมบัติการดูดซับเสียง เพื่อนำมาใช้คำนวณหาค่าความก้องภายในห้อง 


สิ่งสำคัญในการประเมินอคูสติกภายในห้องเพื่อนำมาออกแบบ คือ การตรวจวัดค่าความก้องที่หน้างานจริง 

โดยในการตรวจวัด วิศวกรได้ใช้ เครื่องวัดเสียง NTI รุ่น XL2 และ อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณเสียง MR-Pro 


โดยกระบวนการทดสอบ ทำโดยการปล่อยสัญญาณเสียง Pink noise เข้าไปยังระบบเครื่องขยายเสียงภายในร้าน และทำการวัดค่าความก้องภายในร้าน หลายๆจุด เพื่อนำค่าความก้องมาเฉลี่ย 

ได้จำนวนฟองน้ำที่ต้องใช้จัดการเสียงก้องยังไม่พอ ตำแหน่งติดตั้งก็ต้องคำนึง



ถึงแม้เราจะได้จำนวนฟองน้ำ ที่จะใช้เพื่อควบคุมความก้องภายในร้านให้เหมาะสมแล้วนั้น แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องคำนึงถึงตำแหน่งการติดตั้งด้วย โดยทั่วไปแล้ว ตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับห้องขนาดใหญ่ เรียงลำดับตามนี้ 


1. ผนังด้านหลังห้อง (ผนังตรงข้ามเวที)  ผนังด้านนี้ควรมีการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียง นอกจากการควบคุมความก้องแล้ว ยังป้องกันเสียงสะท้อนจากหลังห้องกลับไปที่หน้าห้อง ซึ่งจะทำให้คนที่อยู่บนเวที ได้ยินเสียงสะท้อนกลับ จนเกิดความสับสนได้ 


2. ฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่แล้ว การควบคุมเสียงก้อง พื้นที่ผิวของผนังด้านหลังห้อง แม้จะติดเต็มพื้นที่ ก็อาจจะยังควบคุมความก้องไม่เพียงพอ ตำแหน่งต่อไปคือ ฝ้าเพดาน เพื่อช่วยควบคุมความก้องได้ดี และดูแลรักษาง่าย เพราะไม่เกิดความเสียหายจากการหยิบจับของลูกค้าที่เข้ามาภายในร้าน 



ฟรี บริการออกแบบจำนวนฟองน้ำ และตำแหน่งที่ติดตั้งที่เหมาะสม เพื่อให้อคูสติกในห้องดีที่สุด หรือสั่งซื้อฟองน้ำซับเสียง Top Tone จากวิศวกรโดยตรง


ติดต่อ วิศวกรโบ๊ต

Mobile:  062-195-1909 

Line id:  satan_boat 

E-mail: getbestsoundthailand@gmail.com

กรณีศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาเสียงเสียงก้องภายในร้านอาหารด้วยฟองน้ำซับเสียง TOP TONE 

ดูรายละเอียดฟองน้ำซับเสียง Top Tone 


การวิเคราะห์ปัญหา  


VDO ด้านล่างคือเสียงหลังจากที่ทำการติดตั้งแผ่นซับเสียง TOP TONE ไปแล้ว พบว่าเสียงคมชัดขึ้น ได้ยินเสียงเบสชัดเจน ไม่ดังแสบหูเหมือนเดิมแล้ว 

ปัญหาเสียงก้องสะท้อนภายในร้าน


แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยจากรูปภายในตัวร้าน จะเห็นได้ชัดว่า

 - ร้านมีขนาดค่อนข้างใหญ่ (กว้าง 12 เมตร และยาว 16 เมตร)   ฝ้าเพดานมีความสูงประมาณ 6.5 เมตร   

- ฝ้าเพดานภายในร้าน ตกต่างด้วยด้วยไม้อัดทำสี 

- ผนังร้านส่วนใหญ่เป็นกระจก 

- พื้นปูนขัดมัน 

- โต๊ะ เก้าอี้ภายในร้าน ทำจากไม้เรียบแข็ง เน้นการใช้งานและทำความสะอาดง่าย 


ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งขนาดห้องค่อนข้างใหญ่ และพื้นผิวเรียบแข็งสะท้อนเสียงได้ดี ส่งผลให้ภายในร้านมีความก้องค่อนข้างมาก


าก VDO ด้านล่าง เป็นเสียงที่บันทึกการแสดงดนตรีในร้าน จะเห็นว่าเสียงก้องมากจน เสียงเพลงดังแสบหูเลยครับ 



บทความนี้เป็นการแชร์แนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเสียงก้องสะท้อนภายในร้านอาหาร ที่มีปัญหาว่าภายในร้านมีเสียงก้องสะท้อนมากเกินไป ส่งผลให้เมื่อลูกค้าเข้ามาภายในร้านจำนวน ทุกคนต่างพูดคุยกัน ทำให้เสียงดังจะน่ารำคาญ 

การออกแบบคำนวณจำนวนแผ่นฟองน้ำซับเสียงสำหรับแก้ไขปัญหา 



เมื่อเราสามารถปรับแก้ค่าการดูดซับเสียงจน ค่าคำนวณใกล้กับผลการวัดได้แล้ว เราจึงทำการแทนที่พื้นผิวของวัสดุภายในห้องด้วยค่าการดูดซับเสียงของแผ่นฟองน้ำ ไปเรื่อยๆ จนค่าความก้องลดลงไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จึงถือว่าการออกแบบจำนวนแผ่นฟองน้ำเสร็จสมบูรณ์ 


วัสดุดูดซับเสียงไม่จำเป็นต้องติดเยอะๆ จนเสียงแห้งนะครับ เพราะการทำแบบนั้น คนขายกำลังหลอกขายของคุณเยอะๆ อยุ่ 

การวิเคราะห์ปัญหา  


​เนื่องจากภายในร้านอาหารที่เปิดการใช้งานแล้ว มีการจัดวางโต๊ะเก้าอี้ หรือการตกแต่งภายในร้าน ด้วยสิ่งของจำนวนมาก แน่นอนว่า วัสดุตกแต่งเหล่านี้ เป็นการยากที่จะรู้คุณสมบัติการดูดซับเสียง เพื่อนำมาใช้คำนวณหาค่าความก้องภายในห้อง 


สิ่งสำคัญในการประเมินอคูสติกภายในห้องเพื่อนำมาออกแบบ คือ การตรวจวัดค่าความก้องที่หน้างานจริง 

โดยในการตรวจวัด วิศวกรได้ใช้ เครื่องวัดเสียง NTI รุ่น XL2 และ อุปกรณ์ปล่อยสัญญาณเสียง MR-Pro 


โดยกระบวนการทดสอบ ทำโดยการปล่อยสัญญาณเสียง Pink noise เข้าไปยังระบบเครื่องขยายเสียงภายในร้าน และทำการวัดค่าความก้องภายในร้าน หลายๆจุด เพื่อนำค่าความก้องมาเฉลี่ย 


เมื่อทำได้ผลการวัดค่าความก้องมาแล้ว จึงนำข้อมูลผลการวัดมาเปรียบเทียบการคำนวณ แน่นอนว่า ผลการคำนวณในครั้งแรกจะไม่เหมือนกับผลการวัดแน่นอน เพราะค่าการดูดซับเสียง โดยเฉพาะ บริเวณพื้น ที่มีการวางโต๊ะเก้าอี้จำนวนมาก ย่อมมีค่าการดูดซับแตกต่าง จากค่าการดูดซับเสียงของพื้นปูนขัดมันโล่งๆ อยู่แล้ว 


เราจึงจำเป็นต้องค่อนๆ ปรับแต่งค่าการดูดซับเสียงของพื้นขัดมันไปเรื่อยๆ จนค่าความก้องจากการคำนวณใกล้เคียงกับผลการวัดจริงในระดับนึง 

credit: avl.co.th