สั่งซื้อ หรือสอบถามเพิ่มเติม จากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ
Mobile: 062-195-1909 
Line id: @GETBEST

จากภาพจะเห็นว่า ยิ่งความหนาของแผ่นดูดซับเสียงเพิ่มมากขึ้น จะทำให้สามารถดูดซับเสียงที่ความถี่ต่ำได้ดีมากยิ่งขึ้น 




แผ่นวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใย จะมีเอกลักษณ์ในการดูดซับเสียงได้ดีที่ความถี่กลางและสูง ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่ตรงกับเสียงของมนุษย์ ดังนั้นแผ่นซับเสียงประเภทเส้นใยจึงได้รับความนิยมมากในการใช้ภายในห้องประชุม ห้องเรียน ห้องอัดบันทึกเสียง เป็นต้น 


การเพิ่มความหนาของแผ่นซับเสียงประเภทเส้นใยจะทำให้สามารถดูดซับเสียงที่ความถี่ต่ำได้ดีขึ้น โดยมีหลักการง่ายๆคือ หากต้องการให้แผ่นซับเสียงดูดซับเสียงได้ดีที่ความถี่ ความหนาอย่างน้อยจะต้องเท่ากับ 1/4 ของความยาวคลื่นของเสียงความถี่นั้น ยกตัวอย่างเช่น 


หากต้องการให้ดูดซับเสียงที่ความถี่ 250 Hz ได้ 100 % ก่อนอื่นต้องคำนวณก่อนว่า 250 Hz มีความยาวคลื่นเท่ากับ ความเร็วของเสียง หารด้วย ความถี่ของเสียง ซึ่งจะได้ว่า 343/250 = 1.372 เมตร  


โดย 1/4 เท่า ของ 1.372 เท่ากับ 0.343 เมตร ดังนั้น แสดงว่า แผ่นดูดซับเสียงจะต้องหนาอย่างน้อย 35 เซนติเมตร ถึงจะดูดซับเสียง 250 Hz ได้ 100 %




แผ่นซับเสียง คือ แผ่นที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียงสะท้อนภายในห้องได้ดีกว่าวัสดุโดยทั่วไป อย่างน้อยควรดูดซับพลังงานเสียงตกกระทบโดยเฉลี่ยมากกว่า 35% แผ่นซับเสียงถูกประยุกต์นำมาใช้เพื่อดูดซับเสียงสะท้อนภายในห้องเพื่อลดความก้อง หรือลดความดังของเสียงภายในห้องเนื่องจากผลของเสียงสะท้อน


ความก้องภายในห้องเกิดจาก ปรากฎการณ์เมื่อเสียงเดินทางจากแหล่งกำเนิดเสียงไปยังพื้นผิวห้อง ไม่ว่าจะเป็นพื้น ฝ้า ผนัง เมื่อพลังงานเสียงกระทบกับพื้นผิวห้อง ซึ่งมีคุณสมบัติเรียบแข็ง เสียงที่สะท้อนกลับไปเกิดการสูญเสียพลังงานน้อย ดังนั้นพลังงานเสียงจึงต้องวิ่งและสะท้อนไปมาในห้องเป็นมากมายหลายครั้งพลังงานเสียงจึงจะหายไป


เปรียบเทียบกับห้องที่มีเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของภายในห้องเยอะ เมื่อเสียงเดินทางไปกระทบเฟอร์นิเจอร์ที่พื้นผิวนุ่ม เป็นเส้นใย  จะทำให้พลังงานเสียงโดนดูดซับไปมาก ส่งผลให้เสียงเดินทางกระทบพื้นผิวแค่ครั้งสองครั้งก็สูญเสียพลังงานไปหมดแล้ว 


เนื่องจากความก้องมีผลกระทบการความชัดเจนในการสื่อสาร นอกจากนั้นความก้องยังทำให้เสียงจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ภายในห้องดังขึ้น เมื่อเทียบกับเสียงจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ภายนอกอาคาร 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราพูดในห้องน้ำ เราจะรู้สึกว่าเสียงเราดังมากกว่าตอนเราพูดที่กลางสนามฟุตบอล เป็นต้น 


ดังนั้นในห้องที่โล่ง มีสิ่งของภายในห้องน้อย และพื้นผิวของห้องเรียบแข็ง จะทำให้ห้องนั้นมีความก้องมากกว่าเกินไป จนส่งผลต่อการใช้งานภายในห้องได้ 


เพื่อทำการแก้ไขปัญหาเรื่องเสียงก้องภายในห้อง เราจึงนิยมแทนที่พื้นผิวที่เรียบแข็ง ด้วยแผ่นซับเสียง เพื่อให้แผ่นซับเสียงทำการดูดซับเสียงสะท้อนภายในห้อง เพื่อความคุมความก้องให้เหมาะสมในการใช้งานห้องแต่ละประเภท 


"วัตถุทุกอย่างบนโลกมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงได้ เพียงแต่จะมากน้อยหรือดูดซับเสียงที่ความถี่ไหนได้ดีแตกต่างกัน" 


อย่างไรก็ตามในงานเชิงวิศวกรรมนั้น เราได้แบ่งชนิดของวัสดุดูดซับเสียงออกเป็น 3 ประเภท หลักๆ ดังต่อไปนี้ 


1. แผ่นวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใย (Fibrous Absorber) หลักการทำงานของวัสดุดูดซับเสียงประเภทนี้คือ เมื่อพลังงานเสียงเดินทางเข้ามาภายในเนื้อของวัสดุ อนุภาคอากาศภายในเนื้อ จะเกิดการสั่นสะเทือนภายในโพรงช่องว่าง แต่ด้วยแรงเสียดทานระหว่างอนุภาคอากาศกับพื้นผิวของเส้นใยภายในเนื้อ จะทำให้พลังงานเสียงที่ทำให้อากาศสั่น ถูกการเสียดทานจนกลายเป็นพลังงานความร้อนแทน แต่ไม่ต้องกลัวว่าเนื้อวัสดุจะร้อนจนไหม้นะครับ เพราะพลังงานเสียงนั้นเป็นพลังงานที่น้อยอย่างมาก โดยเสียงดัง 140 เดซิเบล ทำให้เนื้อวัสดุร้อนขึ้นไม่ถึง 0.1 องศาเลย 


วัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใยที่พบเจอบ่อยในบ้านเราได้แก่ ฉนวยใยแก้ว แผ่นฟองน้ำ ผ้าม่าน พรม แผ่นอคูสติกที่คล้ายๆแผ่นยิปซั่มที่ทำจากแร่ใยหิน  เป็นต้น พวกนี้มีหลักการทำงานในการดูดซับเสียงตามที่ได้อธิบายข้างต้น 






คุณสมบัติการดูดซับเสียงในแต่ละช่วงความถี่ของ วัสดุดูดซับเสียงทั้ง 3 ชนิด 

ค่า Absorption Coefficient คือ อัตราส่วนการดูดซับพลังงานเสียงที่ตกกระทบไปยังพื้นผิว โดย มีค่าตั้งแต่ 0-1 

0 หมายความว่า ไม่ดูดซับเสียง 

0.5 คือ เสียงโดนดูดซับไป 50% 

​1.0 คือ เสียงโดนดูดซับไป 100 % 

แผ่นซับเสียงคืออะไร ในโลกนี้มีแผ่นซับเสียงกี่ชนิด

2. วัสดุดูดซับเสียงอีกชนิดที่เห็นกันบ่อยๆ คือแบบปริมาตร (Volume absorber)
Volume absorber ที่จะเป็นอย่างชินตาคือ แผ่นยิปซั่มที่เจาะรู แล้วมีกระดาษบางๆ ปิดผิวอยู่ด้านหลังแผ่น เช่น แผ่น Echo Bloc ของยิปซั่มตราช้าง เป็นต้น 
ลักษณะของ volume absorber คือพื้นผิวหน้าจะมีรู ด้านหลังของพื้นผิว จะเป็นโพรงอากาศโล่ง

กลไกการทำงานของตัวดูดซับเสียงประเภทนี้คือ การออกแบบให้รูมีขนาดพอเหมาะ บังคับให้พลังงานเสียงที่เดินทางเข้าไปด้านหลังรูกระตุ้นอนุภาคอากาศที่อยู่ด้านหลังโพรง ทำให้พลังงานเสียงเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการสั่นสะเทือนของโพรงอากาศที่อยู่ด้านหลังรู พลังงานเสียงจะสูญเสียไปจากการที่พลังงานเสียงเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานกล เพื่อเขย่าอากาศด้านหลังรูนั้นเอง ทำให้เสียงที่เดินทางเข้าไปไม่สะท้อนกลับออกมา หลักการนี้เราเรียกในทางอคูสติกว่า Helmholz resonator

ด้วยหลัการที่อธิบายนี้ จึงสามารถประยุกต์ออกแบบรูปแบบของรูให้คัดกรองย่านความถี่ที่ต้องการดูดซับเสียงได้ครับ ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถคัดกรองความถี่ที่ดูดซับคือ เปอร์เซ็นต์พท้นที่รูเปิดของแผ่นดูดซับเสียง ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์รูเปิดต่ำ จะดูดซับเสียงในย่านความถี่ต่ำได้ดี แต่ถ้าเปอร์เซ็นต์รูเปิดมาก หรือพรุนมาก จะทำให้โพงอากาศด้านหลังไม่เกิดเรโซแนนซ์ ทำให้เสียงจะสะท้อนกลับออกมาได้มากครับ

เมื่อรู้หลักการของ helmholz resonator แล้ว Acoustician จึงประยุกต์หลักการในการออกแบบวัสดุดูดซับเสียงที่บังคับให้ดูดซับเสียงบางย่านความถี่ มาใช้งาน เช่น การออกแบบ bass trap หรือห้องเก็บเครื่องจักรที่สร้างเสียงเฉพาะแค่บางความถี่ออกมา


อย่างไรก็ดี การใช้โพรงอากาศด้านหลังรูเจาะ ยังมีประสิทธิภาพการดูดซับเสียงที่ไม่มากพอ เลยมีการประบุกต์ใส่พวกวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้น เข้าไปด้านหลังรูเจาะ ช่วยให้ประสิทธิภาพในการดูดซับเสียงสูงขึ้นครับ ยกตัวอย่างเช่น หากเราออกแบบรูเจาะให้ดูดซับเสียงที่ย่าน 250 Hz ถ้าเป็นอากาศเปล่า จะดูดซับได้ 40% แต่ถ้าใส่แผ่น ISO NOISE รุ่นพรีเมี่ยม ไว้ด้านหลังรูเจาะ จะทำให้สามารถดูดซับเสียงที่ 250Hz เพิ่มขึ้นเป็น 70% 

และหากใครเคยไปเดินตามรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า จะเคยเป็นฝ้าเหล็กที่มีรูเล็กทั้งแผ่น ฝ้าลักษณะนั้นคือ แผ่นฝ้าเจาะรูให้มีรูพรุนเยอะๆ โดยมีการวางแผ่นดูดซับเสียงประเภทรูพรุนไว้ด้านบนฝ้า เพื่อช่วยดูดซับเสียงครับ โดยเมื่อเสียงเดินทางผ่านผ่านแผ่นเหล็ก แม้แผ่นจะมีรูพรุนมากสร้างเรโซแนนซ์ในการดูดซับน้อย
แต่มีวัสดุรูพรุนอยู่ด้านหลัง เสียงก็ยังถูกวัสดุดูดซับเสียงดูดซับไว้เยอะอยู่ดี

จริงๆแล้ววัตถุประสงค์ของแผ่นเหล็กเจาะรูก็เพื่อทำหน้าที่เหมือนหน้ากากที่ช่วยป้องกันวัสดุดูดซับเสียงแบบรูพรุนเสียหาย และเพื่อความเรียบร้อยสวยงามมากกว่า


มีหลักการง่ายๆที่นักอคูสติกเอามาใช้พิจารณา Volume absorber คือ ความพรุนของพื้นผิวรูเจาะ หากยิ่งจำนวนรูเจาะน้อย แสดงว่าว่าดูดซับเสียงความถี่ต่ำได้ดี แต่ถ้าความพรุนมากขึ้นเรื่อยๆ จะดูดซับความถี่สูงขึ้นมาเรื่อยๆ แทน

ลักษณะของแผ่นยิปซั่มเจาะรูที่ใช้หลักการดูดซับเสียงแบบ Volume absorber 

ระบบผนังเบาที่มีกรุวัสดุดูดซับเสียงประเภทเส้นใยไว้ภายในยิ่งช่วยเพิ่มการดูดซับเสียงความถี่ต่ำได้ดียิ่งขึ้น 

ตัวอย่างแผ่นซับเสียงประเภทเส้นใย

3. วัสดุดูดซับเสียงประเภทแผ่นเรียบบาง หรือที่เรียกว่า panel absorber 
ตัวอย่างวัสดุดูดซับเสียงแบบ panel absorber ก็คือพวกผนังเบาที่ใช้การกั้นห้องทั่วๆไป โดยหลักการในการดูดซับเสียงของ panel abosorber คือ เมื่อพลังงานเสียงเดินทางเข้ามาปะทะพื้นผิวของ absorber พื้นผิวที่บาง จะเกิดการสั่นโดยพลังงานเสียงที่ปะทะและไปเขย่าพื้นผิวผนัง ทำให้พลังงานเสียงถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานกลแทน จึงเป็นสาเหตุให้พลังงานเสียงถูกดูดซับไป

แต่อย่างไรก็ดี แผ่น panel absorber จะสั่นได้ดีหากถูกระตุ้นด้วยเสียงความถี่ต่ำมากกว่าความถี่สูง ดังนั้นจึง panel absorber จึงจะดูดซับเสียงความถี่ต่ำบางความถี่ได้ดีตัวอย่างที่ดีใช้การใช้งาน panel absorber ในชีวิตจริง คือการทำห้องโฮมเธียร์เตอร์ ห้องฟังเพลง หรือห้องซ้อมดนตรี หากห้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก โดยปริมาตรห้องน้อยกว่า 80 ลูกบาศก์เมตร ผู้เชี่ยวชาญจะนิยมให้ทำการตีผนังเบาหุ้มภายในห้องก่อน 1 ชั้น ก่อนการตกแต่งและติดตั้งวัสดุดูดซับเสียง เพราะต้องการให้ผนังเบาทำหน้าที่เป็น panel absorber เพื่อดูดซับเสียงความถี่ต่ำ ภายในห้อง เพื่อลดปัญหาเบสบวมภายในห้องเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ